เมนู

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 4 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[527] 1. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยราคะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

2. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยราคะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่สุข
ทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
3. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ
โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ
โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[528] 1. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ ฯลฯ
2. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ ฯลฯ

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[529] 1. สังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

2. อสังกิลิฏฐธรรมเป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรมด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ